อุทยานแห่งชาติครึกคา

ก่อนหน้านี้ อุทยานแห่งชาติทะเลสาบพลิทวิตเซ่ และเมืองซาดาร์

วันนี้พวกเราตื่นตามโปรแกรมเลย ตื่น 6 โมง รับประทานอาหารเช้า 7 โมงและออกเดินทาง 8 โมง ไปเที่ยวอุทยานแห่งชาติครึกคากัน
แต่ก่อนจะรับประทานอาหารเช้า พวกเราไปถ่ายรูปรอบๆเมือง โวดิเซ่ ก่อนดีกว่าเพราะอยากถ่ายบรรยากาศยามเช้าของเมืองนี้ด้วย

เราเดินเลียบตามชายทะเลด้านหน้าโรงแรม สงบเงียบดี

บรรยากกาศยามเช้าช่างงดงาม

เมืองอะไรไม่รู้น่ารักจริง

ตรอกซอยเล็กๆ น่าเดินเล่นทุกซอกซอย

แมวตัวนี้ตลกจริง นั่งจ้องปลา…. คงจะหิวมาก

เราคิดว่ามันอยากกินปลาในรูปเสียอีก…แต่ที่ไหนได้สักพักก็มีเจ้าของออกมาให้อาหารมัน…แหมช่างแสนรู้นัก

เราเดินจนสุดตรงนี้ก็รีบเดินกลับโรงแรม เพื่อไปทานอาหารเช้า

พวกเราขึ้นรถไปท่าเรือของเมือง Skradin เพื่อข้ามฝั่งไปยังไปยังอุทยานแห่งชาติครึกคา
ระยะทาง 45 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 1 ชั่วโมง

เรืออกทุกชั่วโมง เรือเที่ยวแรกออกเวลา 09.00 น. และเที่ยวสุดท้ายเวลา 17.00 น. พวกเราขึ้นเรือเวลา 10.00 น.

ค่าโดยสารเรือรวมอยู่กับค่าเข้าอุทยานแล้ว ราคาตั๋วผู้ใหญ่คนละ 100 คูนา ส่วนเด็ก 70 คูน่า

พวกเราขึ้นเรือที่ท่านี้

อุทยานแห่งชาติ ครึกคา” (Krka National Park) อุทยานแห่งชาติที่มีชื่อเสียงของมณฑลชีเบนิค-คนีน (Sibenik-Knin) มณฑลในภูมิภาคดัลเมเชีย (Dalmatia) ภูมิภาคทางประวัติศาสตร์ที่ตั้ง อยู่บนชายฝั่งตะวันออกของทะเลอเดรียติก (Adriatic Sea)

โบกมืออำลาเมือง Skradin

แม่น้ำครึกคา (Krka River) มีความยาว 73 กิโลเมตร เรื่อยไหลผ่านทะเลสาบ Prokljansko แล้วออกสู่ทะเลเอดริแอติค(Adriatic Sea) ส่วนที่เป็นน้ำจืดมีความยาว 49 กม.และส่วนที่เป็นน้ำกร่อยยาว 23.5 กม และน้ำตกครึกคาก็ตั้งชื่อตามแม่น้ำนี้

ใช้เวลาในการนั่งเรือ 20 นาที

เริ่มเข้าอุทยานกันได้เลย

อุทยานแห่งชาติครึกคา ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติในปี 1985

พวกเราก็เดินไปตามเส้นสีชมพู ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ดูเหมือนไกลแต่เดินสบายๆ

เริ่มเดินเล่นกันเลย แต่ก่อนอื่นใดพวกเราเข้าห้องน้ำที่นี่ก่อน ค่าเข้าห้องน้ำ 5 คูนา เท่ากับ 25 บาท แพงเสียจริง

ทางเดินมีทั้งพื้นราบและเดินขึ้นเนิน แต่ไม่ลำบากเลย เดินกันแบบสบายๆ

น้ำตกสกราดินสกี บูค (Skradinski Buk) หรือเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อว่า น้ำตกครึกคา (Krka Waterfalls) เป็นหนึ่งในสองน้ำตกหลักที่มีความสูงประมาณ 37.5 เมตร เป็นน้ำตกที่มีน้ำใสมากอีกทั้งยังมีสระว่ายน้ำ ธรรมชาติที่สามารถลงเล่นน้ำ รวมไปถึงพายเรือเล่นได้อย่างสบายๆ ด้วยความเป็นธรรมชาติและความสวยงามของน้ำตกจึงทำให้น้ำตกแห่งนี้เป็นหนึ่งในน้ำตกที่สวยที่สุดใน ยุโรป

พวกเราเดินมาเรื่อยๆ ก็เจอกับน้ำตกที่ยิ่งใหญ่อยู่ตรงหน้า เห็นแล้วสดชื่นจัง

ปกติจะเห็นคนมาเล่นน้ำกันบริเวณนี้ แต่วันนี้ไม่มีใครมาเล่นเลย..เราเลยลองเอาขาแช่น้ำดูปรากฎว่าน้ำเย็นมาก ทำให้เป็นตะคริวได้…อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ไม่มีคนมาเล่นน้ำ

สะพานทอดยาวเพื่อชมวิวน้ำตกอย่างใกล้ชิด

เดินต่อไปเรื่อยๆ ผ่านแอ่งน้ำเล็กๆ ถ้าไม่บอกคงคิดว่ามาเที่ยวป่าแถบกาญจนบุรี

พืชจำพวกมอสขึ้นเต็มไปหมด แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่า

ผู้ว่าเมืองชิเบนิค Ante Supuk ได้ริเริ่มความคิดที่จะใช้พลังน้ำจากแม่น้ำครึกคาแล้วนำไปสู่การก่อสร้างโรงไฟฟ้าในปี 1894 ใช้เวลาในการสร้าง 16 เดือน

และในปี 1895 จึงกำเนิดโรงไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อการพาณิชย์โรงแรกของยุโรปและ เป็นที่ 2 ของโลก หลัง Adams Power Plant ที่น้ำตก Niagaraเพียง 3 วัน ผลิตกระแสไฟป้อนหลอดไฟรายทางถนนในกรุงชิเบนิค – นครที่สามของโลกที่มีไฟรายทางถนนด้วยไฟฟ้ากระแสสลับที่จ่ายในระบบ polyphase

ตึกที่เห็นตรงหน้าเป็น Jaruga Hydroelectric Power Plant โรงไฟฟ้าหลังที่ 5 ของครึกคา

เดินมาชมพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเครื่องโม่พลังน้ำ

ตลอดเส้นทางแม่น้ำครึกคามีโรงโม่พลังน้ำจำนวน 30 แห่งและช่องทางน้ำสำหรับซักผ้าอีกหลายแห่งได้รับการอนุรักษ์ไว้โดยเฉพาะที่น้ำตก Skradinski ได้รับการบูรณะซ่อมแซมรักษาไว้อย่างดี

โรงโม่ที่นี่ เป็นเสมือนอนุสาวรีย์ทางเศรษฐกิจในอดีตของแถบซีเบนิคในช่วงศตวรรษที่ 14 และ 15 เป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากการโม่แป้งข้าวสาลีส่งไปยังเมืองต่างๆ ตั้งแต่ Dubrovnik ถึง Istria

ถ้ำที่มีช่องน้ำไหลใช้ซักผ้า

อีกส่วนเป็นที่ตั้งโม่หินบดแป้งข้าวสาลี 6 ตัว

อีกสักรูป

ความงดงามก่อนจากลา

ถ้าเทียบความอลังการแล้วอุทยานแห่งชาติทะเลสาบพลิทวิตเซ่ ดูยิ่งใหญ่และสวยมากกว่า แต่ก็ไม่รู้สึกผิดหวังหรอกนะเพราะเราชอบน้ำตกอยู่แล้ว มันให้ความสบาย สดชื่น ไม่ร้อน เดินแล้วไม่เหนื่อย

พวกเราเดินทางมารับประทานอาหารกลางวันต่อ

ร้าน Atrium เป็นร้านอาหารยุโรป มื้อนี้เมนูปลาแต่เราไม่ค่อยอิ่มเท่าไหร่…ต้องควักขนมที่ซื้อจากซุปเปอร์มาร์เก็ตเมื่อวานมากินเพิ่มอีก

หลังรับประทานอาหารเที่ยงพวกเราก็เดินทางต่อไปยังเมืองซีเบนิค

เมืองซีเบนิคและเมืองโทรกีร์

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here